สอบถามการใช้งานระบบ?

(02)913 - 7555 กด 4104

ฝ่ายบริการสมาชิกเว็บไซต์

หน้าแรก Best Practice ศึกษานิเทศก์

Best Practice ศึกษานิเทศก์

นางบุปผา บุญพูล ศึกษานิเทศก์ชำนาญการ สพป.กาญจนบุรี เขต 4

ศน.บุปผารู้จักเรื่อง EF จากการเข้าอบรมเกี่ยวกับเรื่องยาเสพติด ที่ศธจ.จัดร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี ต่อมาเข้าอบรมเรื่อง EF ซึ่งมหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรีจัดอบรมให้ครูปฐมวัยของโรงเรียนในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา แล้วเห็นว่ามีประโยชน์กับเด็กและโรงเรียนอย่างมาก ถ้าครูได้เข้าใจเรื่อง EF ครูก็จะเปลี่ยนพฤติกรรมในการสอน เช่น ครูเครียดแล้วใช้วิธีดุ หรือสั่งเด็กให้เด็กทำตาม จึงอยากสร้างความเข้าใจให้ครู อยากให้ครูใช้ความรู้ EF ในชั้นเรียน เพื่อเด็กจะได้รับการพัฒนา EF  จึงจัดทำโครงการอบรมความรู้ EF แก่ครูและผู้บริหารในเขตพื้นที่ที่รับผิดชอบ รวมทั้งสร้างและจัดอบรมครูแกนนำ...

นางกังสดาล แจ้งมณี ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ สพป.เชียงราย เขต 2

จากการรับผิดชอบงานการศึกษาปฐมวัย ศน.กังสดาลพบว่า ผลสรุปในทุกสิ้นปีการศึกษา เด็กปฐมวัยของโรงเรียนในเขตพื้นที่การศึกษาเชียงราย เขต 2 มีผลพัฒนาการด้านสติปัญญาต่ำกว่าพัฒนาการด้านอื่นๆ และเมื่อได้รับความรู้เรื่อง EF จึงเห็นว่าควรต้องพัฒนาทักษะสมอง EF ให้เด็กปฐมวัย โดยพัฒนาครูปฐมวัยให้มีความรู้ความเข้าใจเรื่อง EF และสามารถเขียนแผนการจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมพัฒนาทักษะสมอง EF ได้ ในปีการศึกษา 2564 ศน.กังสดาลเข้าร่วมการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อสร้าง Facilitator EF จังหวัดเชียงราย ร่วมกับครูโรงเรียนสังกัดสพป.เชียงราย...

นางสาวปวีณา ธิติวรนันท์ ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ สธจ. สุพรรณบุรี

จากการเข้าอบรม “โครงการอบรมศึกษานิเทศก์และผู้บริหารโรงเรียนเพื่อพัฒนาความรู้ทักษะสมอง EF และการใช้เครื่องมือเพื่อส่งเสริม EF ของเด็กปฐมวัย รุ่นที่ 2” และเข้าร่วมกิจกรรม “โครงการถอดบทเรียนศึกษานิเทศก์และผู้บริหารโรงเรียน” ทำให้ ศน.ปวีณาได้เรียนรู้ประสบการณ์การขับเคลื่อน EF ของเพื่อนศึกษานิเทศก์ต่างจังหวัด ต่างสังกัด นำมาเป็นข้อมูลเพื่อพัฒนางานของตนเอง โดยนำความรู้ EF ไปขยายผลให้กับครูวิชาการและผู้บริหารโรงเรียนในความรับผิดชอบ 5 โรงเรียน จนมีการขับเคลื่อน EF แบบเข้มข้นในโรงเรียนที่ใช้ความรู้...

นางปิยะนุช ไชยสมทิพย์ ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ สธจ. น่าน

เมื่อได้รับความรู้เรื่องทักษะสมอง EF และเห็นความสำคัญของ EF แล้ว ศน.ปิยะนุชจึงคิดขับเคลื่อนความรู้ EF ในจังหวัดน่าน ในขณะเดียวกันก็เป็นหลักในการจัดตั้งคณะทำงานขับเคลื่อนการพัฒนาเด็กปฐมวัยระดับจังหวัด ซึ่งประกอบด้วยบุคลากรสังกัดต่างๆ 4 กระทรวง ทั้งศน.ที่รับผิดชอบดูแลเขตพื้นที่การศึกษาเขต 1 และเขต 2 วิทยาลัยชุมชน อปท. พมจ. สธ. และมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน แล้วขับเคลื่อนความรู้  EF อย่างเข้มแข็ง...

นายจิตกร มาแก้ว ศึกษานิเทศก์ชำนาญการ สพป.ระยอง เขต 1

เดิม ศน.จิตกร มาแก้ว เป็นครูซึ่งได้รับการอบรมครูแกนนำ EF แล้วมาเป็นวิทยากร EF ต้นแบบของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) ให้ความรู้ EF แก่ครู ก.ในภาคตะวันออก อบรมครูปฐมวัยทั้งจังหวัด เมื่อมาเป็นศน. ก็เข้าร่วมการขับเคลื่อน EF ในระดับจังหวัดซึ่งจังหวัดระยองเป็นพื้นที่นำร่องเรื่องการพัฒนา EF ร่วมกับภาคเอกชน คือ บริษัทดาว ประเทศไทย และมีการขับเคลื่อนร่วมกันทุกภาคส่วน...

นางบุญลักษณ์ อึ้งชัยพงษ์   ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ สธจ. กำแพงเพชร

หลังจากได้รับการอบรมความรู้เรื่องทักษะสมองEFศน.บุญลักษณ์ก็สร้างคณะทำงานขับเคลื่อนEF จังหวัดกำแพงเพชรซึ่งประกอบด้วยบุคลากรที่ได้รับการอบรมความรู้ EF มาแล้วเช่นกัน เป็นคณะทำงานที่เข้มแข็ง มีความรู้ความเข้าใจ EF ร่วมกันขับเคลื่อน EF อย่างเข้มแข็ง กระตือรือร้น  ขยายความรู้ EF สู่ครูในจังหวัดกำแพงเพชร ทั้งครูสังกัดสพฐ. ครูศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ครูโรงเรียนอนุบาล ดำเนินการจัดตั้งโรงเรียน EF ต้นแบบเกิดการทำ Best Practice เรื่องการบริหารจัดการศึกษาปฐมวัย โดยใช้นวัตกรรมจิตศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะสมอง...

นายพงษ์พันธุ์ ไชยบุญเรือง   ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ สพป. เชียงราย เขต 4

ศน.พงษ์พันธุ์ ไชยบุญเรือง เริ่มสนใจเรื่องทักษะสมอง EF จากสื่อ (กล่องล้อมรัก) ที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด(ป.ป.ส.)จัดมอบให้แจกตามโรงเรียน ต่อมาเข้ารับการอบรมเรื่อง EF กับสถาบัน RLG ที่จัดอบรมให้ครู เจ้าหน้าที่สาธารณสุขและผู้บริหารโรงเรียนในพื้นที่จังหวัดเชียงราย ทำให้ได้รับความรู้ความเข้าใจเรื่อง EF มากขึ้น เห็นความสำคัญของ EF ว่าเป็นความรู้ใหม่ในการพัฒนาเด็กที่น่าจะนำไปขยายสู่ครู จากนั้นจึงนำความรู้ EF บูรณาการเข้าไปกับการอบรมพัฒนาครู การนิเทศ การประชุมผู้บริหาร...

นางอานันท์ปภา ฉลาดเอื้อ ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ สพป. สุรินทร์เขต 3

ศน.อานันท์ปภาได้รู้จักเรื่อง EF จากโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนาที่ใช้กระบวนการเรียนรู้จิตศึกษาเป็นเครื่องมือพัฒนา EF ให้นักเรียน แล้วเข้าอบรมเรียนรู้ EF เพิ่มเติมกับสถาบัน RLG ต่อจากนั้นได้นำความรู้ EF มาขยายผลกับระดับชั้นปฐมวัยของโรงเรียนในโครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQP) กสศ. จำนวน 10 โรง จัดอบรมครูเรื่องความรู้ฐานราก คือ ทักษะสมอง EF พัฒนาการ 4 ด้าน...
74,430แฟนคลับชอบ
- โครงการ “สื่อเพื่อฟื้นฟูการพัฒนาเด็กปฐมวัย ในวิถีชีวิตใหม่” -

Latest Articles

นางกษมน มังคละคีรี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อ จ.สกลนคร

โรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อเป็นโรงเรียนในโครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQP) ผอ.กษมน ได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่องEF จากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา แล้วศึกษาเพิ่มเติมทางอินเทอร์เน็ตและเข้าอบรมกับสถาบันRLG เมื่อเดือนเมษายน 2564 โดยให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนเข้ารับการอบรมด้วย ซึ่งเป็นครูที่จบเอกปฐมวัยมาโดยตรง และมีความมุ่งมั่นที่จะนำความรู้สู่การปฏิบัติในชั้นเรียน เมื่อตระหนักถึงความสำคัญของ EF ตรงกัน ผอ.กษมนจึงให้ความสนับสนุนอย่างเต็มที่ ให้ครูปฐมวัยได้จัดการเรียนการสอนส่งเสริม EF โดยไม่ได้รอความเห็นชอบจากศน.เขตพื้นที่ฯ เพราะเห็นว่า EF เป็นความรู้ที่สอดคล้องกับหลักการศึกษาปฐมวัยอยู่แล้ว สามารถบูรณาการไปกับการส่งเสริมพัฒนาการ...

นางเปรมศิริ เนื้อเย็น ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบ้วย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย  จ.เพชรบุรี

ผอ.เปรมศิริได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่อง EFจากศึกษานิเทศน์เขตพื้นที่การศึกษาเพชรบุรีเขต 2 และ ศน.เชิญชวนให้เข้ารับการอบรมความรู้ EF กับสถาบัน RLG แล้วนำความรู้ EF มาขยายสู่ครูปฐมวัยในโรงเรียนให้ครูได้ส่งเสริมEF เด็กผ่านโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เนื่องจากมีความสอดคล้องกัน โดยบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยส่งเสริมให้เด็กได้คิดวิเคราะห์ เรียนรู้จากการลงมือทำ นอกจากนั้นยังวางแผนจะเชื่อมโยงความรู้ EF ไปสู่ครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย เพื่อเป็นการปูพื้นฐาน EF ให้เด็กจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่จะมาเรียนต่ออนุบาล 3 ที่โรงเรียนบ้านหนองบ้วย ทำให้เด็กได้รับการพัฒนา...

นายทวิต ราษี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูล จ.สุโขทัย

ผอ.ทวิต ราษี มีประสบการณ์บริหารโรงเรียนขนาดเล็กที่มีระดับชั้นปฐมวัยมานานโดยมีความตั้งใจในการพัฒนาอนุบาลให้มีคุณภาพเพราะเป็นการสร้างรากฐานให้เด็กไปจนโต และมีความสนใจในเรื่องพัฒนาการเด็ก เมื่อเข้าร่วมอบรมเรื่อง EF จากสถาบัน RLG ก็ได้เข้าใจว่าพัฒนาการของเด็กนั้นเกิดจากการทำงานของสมอง และยังเห็นว่าเรื่อง EF มีความสอดคล้องกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยที่โรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูลดำเนินการอยู่ จึงสนใจที่จะขับเคลื่อนความรู้ EF ในโรงเรียน(ที่เพิ่งเข้ามาบริหาร) ผอ.ทวิตนำความรู้ EF มาถ่ายทอดแก่ครู ให้ครูนำความรู้ EF บูรณาการกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยซึ่งเป็นการเรียนรู้แบบโครงงาน เพียงครูเปลี่ยนวิธีการ ไม่ใช่ครูสั่งให้เด็กทำ แต่ให้เด็กได้คิดได้ทำด้วยตัวเอง...

นายสวัสดิ์ เมฆสุนทร  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองโพธิ์ จ.นครราชสีมา 

ผอ.สวัสดิ์ได้รับการแนะนำจากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา ให้รู้จัก EF รวมทั้งได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง EF ในการประชุมเครือข่ายโรงเรียนพัฒนาตนเอง(TSQP)อยู่เสมอ และเข้ารับการอบรมกับสถาบัน RLG เพิ่มเติม  แล้วเห็นว่า EF เป็นความรู้พื้นฐานหรือความรู้ปฐมบทที่พ่อแม่ผู้ปกครองไม่ว่าสถานะใดควรต้องรู้ ไม่ใช่เฉพาะผู้ปกครองชนชั้นกลางขึ้นไปที่มีความรู้ หรือเป็นความรู้ในหมู่ครูอาจารย์หรือแพทย์เท่านั้น  ครอบครัวที่ด้อยโอกาสก็ควรต้องรู้ สรุปคือสังคมไทยควรต้องเรียนรู้เรื่อง EF เพื่อให้เด็กได้มีโอกาสพัฒนาอย่างเท่าเทียมกันจึงสนับสนุนให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนได้รับการอบรม EF จากสถาบัน RLG และดำเนินการปรับสนามเด็กเล่นเพื่อให้เด็กได้เล่นอิสระอย่างปลอดภัยและมีความสุข...

นายจรูญ น้อยสำราญ  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบอน จ.ตราด

โรงเรียนบ้านหนองบอนเป็นโรงเรียนหนึ่งในเครือข่ายโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQD) กสศ.ซึ่งทำให้ผอ.จรูญได้เริ่มรู้จัก EF แล้วทำให้อยากรู้ว่า EF คืออะไร เมื่อพบว่าสถาบัน RLG มีการอบรมเรื่องนี้จึงสมัครเข้ารับอบรมพร้อมครูอนุบาล 2 คน  แล้วได้เห็นว่า EF เป็นคำตอบเรื่องการพัฒนาเด็กให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ และการพัฒนาเด็กให้เต็มศักยภาพ จึงนำความรู้ EF มาถ่ายทอดให้ครูในโรงเรียน โดยใช้สื่อจากสถาบันRLG ให้ครูเรียนรู้ และมอบหมายให้รองผอ.ติดตามการดำเนินการขับเคลื่อนความรู้ EF สู่การปฏิบัติในชั้นเรียนอนุบาล...