สอบถามการใช้งานระบบ?

(02)913 - 7555 กด 4104

ฝ่ายบริการสมาชิกเว็บไซต์

นางสาววิริยา บาลตำบล ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ สพป.สกลนคร เขต 3

สืบเนื่องจากคู่มือพัฒนาทักษะสมอง EF สำหรับครูปฐมวัย ที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.)ส่งมาให้กลุ่มงานส่งเสริมการศึกษาแจกตามโรงเรียนและศน.วิริยาร่วมดำเนินการแจกด้วย ทำให้ศน.วิริยาเกิดความสนใจเรื่อง EF รวมทั้งผู้บริหารเขตพื้นที่การศึกษาได้อ่านหนังสือคู่มือนี้แล้วมีวิสัยทัศน์ว่า EF เป็นเรื่องดีที่ศึกษานิเทศน์ควรนำไปเป็นแนวทางพัฒนาครูและโรงเรียน ต่อมาศน.วิริยาได้เข้าอบรมเรื่อง EF ที่สำนักศึกษาธิการจังหวัดจัดร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร แล้วนำความรู้ EF มาเป็นพื้นฐานจัดทำโครงการพัฒนาการจัดประสบการณ์การเรียนการสอนในระดับปฐมวัย ให้กับครูโรงเรียนในสังกัดเขตพื้นที่การศึกษาที่รับผิดชอบที่เปิดการสอนระดับปฐมวัย และครูผู้ดูแลเด็กในสังกัด อปท. โดยใช้หนังสือคู่มือพัฒนาทักษะสมอง EF สำหรับครูปฐมวัยเป็นคู่มือให้ความรู้ EF แก่ครู แม้ว่าจะพบอุปสรรคในการขับเคลื่อนจากปัญหา “ผู้บริหารเปลี่ยน นโยบายเปลี่ยน” ศน.วิริยาก็ยังเห็นว่าสามารถที่จะสอดแทรกบูรณาการเรื่อง EF เข้าไปในโครงการพัฒนาครูและงานในความรับผิดชอบของศน.ได้

การขับเคลื่อน EF ที่เป็นรูปธรรม

  • สร้างพื้นฐานความรู้ EF ให้กับครูปฐมวัย โดยจัดทำโครงการพัฒนาการจัดประสบการณ์การเรียนการสอนในระดับปฐมวัย ซึ่งสอดแทรกกิจกรรมส่งเสริมและพัฒนาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อพัฒนา EF สำหรับเด็กปฐมวัยให้กับครูโรงเรียนในสังกัดเขตพื้นที่การศึกษาที่เปิดการสอนระดับปฐมวัย และครูผู้ดูแลเด็กในสังกัด อปท.และใช้หนังสือคู่มือพัฒนาทักษะสมอง EF สำหรับครูปฐมวัย ที่ได้รับจากสำนักงาน ป.ป.ส เป็นคู่มือให้ความรู้ EF แก่ครู

การสร้าง/ประสานเครือข่าย

  • สื่อสารประสานกับครูปฐมวัยในเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3

การติดตาม/นิเทศ/coaching

  • ดำเนินการนิเทศและพัฒนาทั้งแบบ face to face และผ่านระบบออนไลน์ ด้วยรูปแบบการนิเทศ “แบบบันได 6 ขั้น สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน” คือ 1.ทำให้ครูตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาทักษะสมอง EF เด็กปฐมวัย 2. เสริมสร้างความรู้และความสามารถให้ครูได้มีแนวทางหรือวิธีการพัฒนา EF ที่ถูกต้อง 3. วางแผนการนิเทศ  4. นิเทศโดยสังเกตการจัดการเรียนรู้ หลักฐานร่องรอยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริม EF 5. ร่วมกันสรุปผลการจัดการเรียนรู้ ดูว่าครูนำ EF ไปใช้อย่างไร มีปัญหาอะไร แล้วให้คำชี้แนะเพื่อการพัฒนา 6. ประเมินและสะท้อนผลเพื่อพัฒนา

การต่อยอด/นวัตกรรม/ วิจัย

  • จะดำเนินการขยายผลให้กับครูผู้สอนระดับปฐมวัยโรงเรียนขนาดเล็กในสังกัด และโรงเรียนขยายโอกาสที่เปิดสอนระดับปฐมวัยต่อไปเพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน
  • จะส่งเสริมให้ครูสร้างนวัตกรรมและทำการวิจัยในชั้นเรียนเกี่ยวกับการพัฒนาทักษะสมอง EF เด็กปฐมวัย

การแก้ปัญหา

  • “ผู้บริหารเปลี่ยน นโยบายเปลี่ยน” ผู้บริหารใหม่เปลี่ยนงบประมาณไปส่งเสริมเรื่องมอนเตสซอรี่ แก้ปัญหาโดยสอดแทรกบูรณาการเรื่อง EF ไปด้วยกัน เชื่อมโยงให้ครูเห็นว่ากิจกรรมการเรียนการสอนนั้นนอกจากเสริมสร้างพัฒนาการแล้วยังสร้างเสริมพัฒนาสมอง EF ด้วย และเสริมสร้าง EF ด้านใดอย่างไร 

ผลสัมฤทธิ์ / การเปลี่ยนแปลง

  • ครูผู้สอนระดับปฐมวัยในสังกัดมีความรู้ความเข้าใจ มองเห็นความสำคัญของการพัฒนาทักษะสมอง EF ให้กับเด็กปฐมวัย และสามารถจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมพัฒนาการและ EF สำหรับเด็กปฐมวัยได้

Related Articles

นางกษมน มังคละคีรี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อ จ.สกลนคร

โรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อเป็นโรงเรียนในโครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQP) ผอ.กษมน ได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่องEF จากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา แล้วศึกษาเพิ่มเติมทางอินเทอร์เน็ตและเข้าอบรมกับสถาบันRLG เมื่อเดือนเมษายน 2564 โดยให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนเข้ารับการอบรมด้วย ซึ่งเป็นครูที่จบเอกปฐมวัยมาโดยตรง และมีความมุ่งมั่นที่จะนำความรู้สู่การปฏิบัติในชั้นเรียน เมื่อตระหนักถึงความสำคัญของ EF ตรงกัน ผอ.กษมนจึงให้ความสนับสนุนอย่างเต็มที่ ให้ครูปฐมวัยได้จัดการเรียนการสอนส่งเสริม EF โดยไม่ได้รอความเห็นชอบจากศน.เขตพื้นที่ฯ เพราะเห็นว่า EF เป็นความรู้ที่สอดคล้องกับหลักการศึกษาปฐมวัยอยู่แล้ว สามารถบูรณาการไปกับการส่งเสริมพัฒนาการ...

นางเปรมศิริ เนื้อเย็น ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบ้วย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย  จ.เพชรบุรี

ผอ.เปรมศิริได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่อง EFจากศึกษานิเทศน์เขตพื้นที่การศึกษาเพชรบุรีเขต 2 และ ศน.เชิญชวนให้เข้ารับการอบรมความรู้ EF กับสถาบัน RLG แล้วนำความรู้ EF มาขยายสู่ครูปฐมวัยในโรงเรียนให้ครูได้ส่งเสริมEF เด็กผ่านโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เนื่องจากมีความสอดคล้องกัน โดยบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยส่งเสริมให้เด็กได้คิดวิเคราะห์ เรียนรู้จากการลงมือทำ นอกจากนั้นยังวางแผนจะเชื่อมโยงความรู้ EF ไปสู่ครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย เพื่อเป็นการปูพื้นฐาน EF ให้เด็กจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่จะมาเรียนต่ออนุบาล 3 ที่โรงเรียนบ้านหนองบ้วย ทำให้เด็กได้รับการพัฒนา...

นายทวิต ราษี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูล จ.สุโขทัย

ผอ.ทวิต ราษี มีประสบการณ์บริหารโรงเรียนขนาดเล็กที่มีระดับชั้นปฐมวัยมานานโดยมีความตั้งใจในการพัฒนาอนุบาลให้มีคุณภาพเพราะเป็นการสร้างรากฐานให้เด็กไปจนโต และมีความสนใจในเรื่องพัฒนาการเด็ก เมื่อเข้าร่วมอบรมเรื่อง EF จากสถาบัน RLG ก็ได้เข้าใจว่าพัฒนาการของเด็กนั้นเกิดจากการทำงานของสมอง และยังเห็นว่าเรื่อง EF มีความสอดคล้องกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยที่โรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูลดำเนินการอยู่ จึงสนใจที่จะขับเคลื่อนความรู้ EF ในโรงเรียน(ที่เพิ่งเข้ามาบริหาร) ผอ.ทวิตนำความรู้ EF มาถ่ายทอดแก่ครู ให้ครูนำความรู้ EF บูรณาการกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยซึ่งเป็นการเรียนรู้แบบโครงงาน เพียงครูเปลี่ยนวิธีการ ไม่ใช่ครูสั่งให้เด็กทำ แต่ให้เด็กได้คิดได้ทำด้วยตัวเอง...

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here

Stay Connected

74,430แฟนคลับชอบ
- โครงการ “สื่อเพื่อฟื้นฟูการพัฒนาเด็กปฐมวัย ในวิถีชีวิตใหม่” -
- EF Development Tools -

Latest Articles

นางกษมน มังคละคีรี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อ จ.สกลนคร

โรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อเป็นโรงเรียนในโครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQP) ผอ.กษมน ได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่องEF จากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา แล้วศึกษาเพิ่มเติมทางอินเทอร์เน็ตและเข้าอบรมกับสถาบันRLG เมื่อเดือนเมษายน 2564 โดยให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนเข้ารับการอบรมด้วย ซึ่งเป็นครูที่จบเอกปฐมวัยมาโดยตรง และมีความมุ่งมั่นที่จะนำความรู้สู่การปฏิบัติในชั้นเรียน เมื่อตระหนักถึงความสำคัญของ EF ตรงกัน ผอ.กษมนจึงให้ความสนับสนุนอย่างเต็มที่ ให้ครูปฐมวัยได้จัดการเรียนการสอนส่งเสริม EF โดยไม่ได้รอความเห็นชอบจากศน.เขตพื้นที่ฯ เพราะเห็นว่า EF เป็นความรู้ที่สอดคล้องกับหลักการศึกษาปฐมวัยอยู่แล้ว สามารถบูรณาการไปกับการส่งเสริมพัฒนาการ...

นางเปรมศิริ เนื้อเย็น ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบ้วย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย  จ.เพชรบุรี

ผอ.เปรมศิริได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่อง EFจากศึกษานิเทศน์เขตพื้นที่การศึกษาเพชรบุรีเขต 2 และ ศน.เชิญชวนให้เข้ารับการอบรมความรู้ EF กับสถาบัน RLG แล้วนำความรู้ EF มาขยายสู่ครูปฐมวัยในโรงเรียนให้ครูได้ส่งเสริมEF เด็กผ่านโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เนื่องจากมีความสอดคล้องกัน โดยบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยส่งเสริมให้เด็กได้คิดวิเคราะห์ เรียนรู้จากการลงมือทำ นอกจากนั้นยังวางแผนจะเชื่อมโยงความรู้ EF ไปสู่ครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย เพื่อเป็นการปูพื้นฐาน EF ให้เด็กจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่จะมาเรียนต่ออนุบาล 3 ที่โรงเรียนบ้านหนองบ้วย ทำให้เด็กได้รับการพัฒนา...

นายทวิต ราษี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูล จ.สุโขทัย

ผอ.ทวิต ราษี มีประสบการณ์บริหารโรงเรียนขนาดเล็กที่มีระดับชั้นปฐมวัยมานานโดยมีความตั้งใจในการพัฒนาอนุบาลให้มีคุณภาพเพราะเป็นการสร้างรากฐานให้เด็กไปจนโต และมีความสนใจในเรื่องพัฒนาการเด็ก เมื่อเข้าร่วมอบรมเรื่อง EF จากสถาบัน RLG ก็ได้เข้าใจว่าพัฒนาการของเด็กนั้นเกิดจากการทำงานของสมอง และยังเห็นว่าเรื่อง EF มีความสอดคล้องกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยที่โรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูลดำเนินการอยู่ จึงสนใจที่จะขับเคลื่อนความรู้ EF ในโรงเรียน(ที่เพิ่งเข้ามาบริหาร) ผอ.ทวิตนำความรู้ EF มาถ่ายทอดแก่ครู ให้ครูนำความรู้ EF บูรณาการกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยซึ่งเป็นการเรียนรู้แบบโครงงาน เพียงครูเปลี่ยนวิธีการ ไม่ใช่ครูสั่งให้เด็กทำ แต่ให้เด็กได้คิดได้ทำด้วยตัวเอง...

นายสวัสดิ์ เมฆสุนทร  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองโพธิ์ จ.นครราชสีมา 

ผอ.สวัสดิ์ได้รับการแนะนำจากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา ให้รู้จัก EF รวมทั้งได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง EF ในการประชุมเครือข่ายโรงเรียนพัฒนาตนเอง(TSQP)อยู่เสมอ และเข้ารับการอบรมกับสถาบัน RLG เพิ่มเติม  แล้วเห็นว่า EF เป็นความรู้พื้นฐานหรือความรู้ปฐมบทที่พ่อแม่ผู้ปกครองไม่ว่าสถานะใดควรต้องรู้ ไม่ใช่เฉพาะผู้ปกครองชนชั้นกลางขึ้นไปที่มีความรู้ หรือเป็นความรู้ในหมู่ครูอาจารย์หรือแพทย์เท่านั้น  ครอบครัวที่ด้อยโอกาสก็ควรต้องรู้ สรุปคือสังคมไทยควรต้องเรียนรู้เรื่อง EF เพื่อให้เด็กได้มีโอกาสพัฒนาอย่างเท่าเทียมกันจึงสนับสนุนให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนได้รับการอบรม EF จากสถาบัน RLG และดำเนินการปรับสนามเด็กเล่นเพื่อให้เด็กได้เล่นอิสระอย่างปลอดภัยและมีความสุข...

นายจรูญ น้อยสำราญ  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบอน จ.ตราด

โรงเรียนบ้านหนองบอนเป็นโรงเรียนหนึ่งในเครือข่ายโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQD) กสศ.ซึ่งทำให้ผอ.จรูญได้เริ่มรู้จัก EF แล้วทำให้อยากรู้ว่า EF คืออะไร เมื่อพบว่าสถาบัน RLG มีการอบรมเรื่องนี้จึงสมัครเข้ารับอบรมพร้อมครูอนุบาล 2 คน  แล้วได้เห็นว่า EF เป็นคำตอบเรื่องการพัฒนาเด็กให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ และการพัฒนาเด็กให้เต็มศักยภาพ จึงนำความรู้ EF มาถ่ายทอดให้ครูในโรงเรียน โดยใช้สื่อจากสถาบันRLG ให้ครูเรียนรู้ และมอบหมายให้รองผอ.ติดตามการดำเนินการขับเคลื่อนความรู้ EF สู่การปฏิบัติในชั้นเรียนอนุบาล...