สอบถามการใช้งานระบบ?

(02)913 - 7555 กด 4104

ฝ่ายบริการสมาชิกเว็บไซต์

นางบุปผา บุญพูล ศึกษานิเทศก์ชำนาญการ สพป.กาญจนบุรี เขต 4

ศน.บุปผารู้จักเรื่อง EF จากการเข้าอบรมเกี่ยวกับเรื่องยาเสพติด ที่ศธจ.จัดร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี ต่อมาเข้าอบรมเรื่อง EF ซึ่งมหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรีจัดอบรมให้ครูปฐมวัยของโรงเรียนในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา แล้วเห็นว่ามีประโยชน์กับเด็กและโรงเรียนอย่างมาก ถ้าครูได้เข้าใจเรื่อง EF ครูก็จะเปลี่ยนพฤติกรรมในการสอน เช่น ครูเครียดแล้วใช้วิธีดุ หรือสั่งเด็กให้เด็กทำตาม จึงอยากสร้างความเข้าใจให้ครู อยากให้ครูใช้ความรู้ EF ในชั้นเรียน เพื่อเด็กจะได้รับการพัฒนา EF  จึงจัดทำโครงการอบรมความรู้ EF แก่ครูและผู้บริหารในเขตพื้นที่ที่รับผิดชอบ รวมทั้งสร้างและจัดอบรมครูแกนนำ EF โดยประสานกับอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี เพื่อให้เกิดการขยายผลสู่เครือข่ายโรงเรียนในสังกัด สพป.กาญจนบุรีเขต 4  3 อำเภอ ต่อมาศน.บุปผาได้เข้าร่วมทำงานในคณะอนุกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเด็กปฐมวัยจังหวัด ร่วมขับเคลื่อนเรื่อง EF ระดับจังหวัด ประสานกับทุกภาคส่วน โดยมีเป้าหมายจะสร้างโรงเรียนต้นแบบ EF และจัดทำ EF Best Practice ในหมู่ครูที่ใช้ความรู้ EF จัดการเรียนการสอน

การขับเคลื่อน EF ที่เป็นรูปธรรม

  • สร้างและจัดอบรมครูแกนนำเรื่องการออกแบบแผนการเรียนการสอน EF โดยใช้ EF Guideline จำนวน 30 คน จาก 3 อำเภอ อำเภอละ 10 คน เพื่อให้ครูมีความเข้าใจกระจ่างชัด นำไปปฏิบัติได้ จัดอบรม onsite ในชั้นเรียนที่โรงเรียนอนุบาลบ่อพลอย
  • จัดโครงการอบรมความรู้ EF แก่ครูทุกโรงเรียนในสังกัดเขตพื้นที่จำนวน 91 โรงเรียน ผ่านทาง ZOOM
  • ร่วมกับคณะอนุกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเด็กปฐมวัยปรับปรุงหลักสูตรปฐมวัยโดยให้มีการบูรณาการเรื่อง EF แล้วจัดทำแผน หน่วยการเรียนรู้ และการจัดประสบการณ์ที่บูรณาการ EF จำนวน 1 ภาคเรียน (20 สัปดาห์) ให้โรงเรียนนำหลักสูตรและแผนการจัดประสบการณ์ลงสู่การปฏิบัติ
  • จัดกิจกรรมประกวดนวัตกรรมและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ นำเสนอผลการนำไปใช้ / PLC“การจัดประสบการณ์การเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะสมอง (Executive Function : EF) ในเด็กปฐมวัย โดยผ่านกิจกรรมนักวิทยาศาสตร์น้อย”
  • สรุปและประเมินผลพัฒนาการของเด็กปฐมวัยแล้วนำผลการประเมินมาใช้ในการปรับปรุงและพัฒนาให้การดำเนินงานมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น

การสร้าง/ประสานเครือข่าย

  • ขยายผลสู่เครือข่ายโรงเรียนในสังกัด สพป.กาญจนบุรี เขต 4  3อำเภอ
  • ประสานกับอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี ให้เป็นวิทยากรในการอบรมครู ติดตาม ร่วมขับเคลื่อน EF ระดับจังหวัด

การติดตาม/นิเทศ/coaching

  • นิเทศ กำกับติดตามการจัดประสบการณ์ EF ในโรงเรียนที่ได้รับการขยายผล อย่างน้อยภาคเรียนละ 1 ครั้ง
  •  เป็นที่ปรึกษาแก่ครู ครูมีปัญหาอะไรสามารถโทร.ปรึกษาได้ตลอดเวลา

การต่อยอด/นวัตกรรม/ วิจัย

  • ราวๆ กลางปี 2565 จะจัดประกวด EF Best Practice และเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ นำเสนอผลการนำความรู้ EF ไปปฏิบัติ หลังจากครูได้ทดลอง ฝึกฝนการปฏิบัติในชั้นเรียนจนเข้าใจแจ่มชัด
  • วางแผนจะขยายความรู้ EF สู่ผู้ปกครอง ที่ผ่านมาใช้การสื่อสารความรู้แบบไม่เป็นทางการผ่านไลน์กลุ่มโรงเรียนกับผู้ปกครอง และให้ครูจัดกิจกรรมส่งเสริม EF ที่ผู้ปกครองมีส่วนร่วม ซึ่งผู้ปกครองก็ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี  
  • จะจัดอบรมเรื่อง Home-Based Learning โดยมีเรื่องการส่งเสริม EF เป็นสาระสำคัญ

การแก้ปัญหา

  • การขับเคลื่อน EF โดยราบรื่น ที่สำคัญต้องให้ผู้บังคับบัญชาเห็นชอบ ปรึกษาผอ.กลุ่มนิเทศก่อน แล้วนำเรียนผอ.เขตพื้นที่การศึกษา เตรียมข้อมูลนำเสนอให้ผู้บังคับบัญชาเข้าใจความสำคัญและเห็นประโยชน์ของ EF  ซึ่งถ้าเป็นประโยชน์กับเด็กกับโรงเรียนก็จะได้รับความเห็นชอบ แล้วปรึกษาหาแนวทางที่เป็นไปได้ร่วมกัน 
  • เรื่องงบประมาณไม่เป็นปัญหา ถ้าได้รับความเห็นชอบจากผู้บริหาร และประสานขอความอนุเคราะห์จากอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏฯ ในการเป็นวิทยากรให้ความรู้ เป็นที่ปรึกษา
  • การขับเคลื่อนต่อเนื่องยั่งยืนจะเกิดขึ้นได้ ศน.ต้องทำด้วยใจเพราะเห็นประโยชน์ที่เด็กและโรงเรียนจะได้รับ (ไม่ทำก็ไม่เหนื่อย)

ผลสัมฤทธิ์ / การเปลี่ยนแปลง

  • ครูสะท้อนว่าความรู้เรื่อง EF ทำให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง เข้าใจกระจ่าง ได้รู้ว่าที่ผ่านมาทำผิดวิธี เช่น บอกเด็กว่าอย่าๆๆ เป็นการปิดโอกาสการเรียนรู้ของเด็ก เมื่อรู้แล้วครูให้โอกาสเด็กฝึกช่วยเหลือตัวเอง เด็กช่วยเหลือตัวเองได้ เกิด EF มีวุฒิภาวะทางอารมณ์ รู้จักยับยั้งชั่งใจ นอกจากนี้ครูยังได้เทคนิคที่นำไปใช้ในห้องเรียน เช่น เทคนิคการจัดกิจกรรมเรียนรู้ที่หลากหลาย ครูรู้สึกเหมือนได้เปิดโลกทัศน์
  • สร้างทัศนคติที่ดีให้ครู ครูสะท้อนว่า EF ไม่ใช่ภาระเลย EF อยู่ในเรื่องที่ครูต้องจัดการทุกวันอยู่แล้ว
  • ครูยังได้แนวทางสำหรับการจัด Home-Based Learning ในสถานการณ์โควิดด้วย วิธีการจัดการเรียนรู้ให้เด็กได้เรียนรู้ร่วมกับผู้ปกครองที่บ้าน จากเดิมที่ให้เด็กทำงานตามใบงาน ซึ่งทำให้เด็กเครียด ก็เปลี่ยนมาเป็นกิจกรรม เกมสนุกๆ ได้รับฟีดแบ็กจากผู้ปกครองที่ดีมากว่าเด็กๆ ได้เรียนรู้อย่างสนุกสนาน 

Related Articles

นางกษมน มังคละคีรี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อ จ.สกลนคร

โรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อเป็นโรงเรียนในโครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQP) ผอ.กษมน ได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่องEF จากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา แล้วศึกษาเพิ่มเติมทางอินเทอร์เน็ตและเข้าอบรมกับสถาบันRLG เมื่อเดือนเมษายน 2564 โดยให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนเข้ารับการอบรมด้วย ซึ่งเป็นครูที่จบเอกปฐมวัยมาโดยตรง และมีความมุ่งมั่นที่จะนำความรู้สู่การปฏิบัติในชั้นเรียน เมื่อตระหนักถึงความสำคัญของ EF ตรงกัน ผอ.กษมนจึงให้ความสนับสนุนอย่างเต็มที่ ให้ครูปฐมวัยได้จัดการเรียนการสอนส่งเสริม EF โดยไม่ได้รอความเห็นชอบจากศน.เขตพื้นที่ฯ เพราะเห็นว่า EF เป็นความรู้ที่สอดคล้องกับหลักการศึกษาปฐมวัยอยู่แล้ว สามารถบูรณาการไปกับการส่งเสริมพัฒนาการ...

นางเปรมศิริ เนื้อเย็น ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบ้วย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย  จ.เพชรบุรี

ผอ.เปรมศิริได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่อง EFจากศึกษานิเทศน์เขตพื้นที่การศึกษาเพชรบุรีเขต 2 และ ศน.เชิญชวนให้เข้ารับการอบรมความรู้ EF กับสถาบัน RLG แล้วนำความรู้ EF มาขยายสู่ครูปฐมวัยในโรงเรียนให้ครูได้ส่งเสริมEF เด็กผ่านโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เนื่องจากมีความสอดคล้องกัน โดยบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยส่งเสริมให้เด็กได้คิดวิเคราะห์ เรียนรู้จากการลงมือทำ นอกจากนั้นยังวางแผนจะเชื่อมโยงความรู้ EF ไปสู่ครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย เพื่อเป็นการปูพื้นฐาน EF ให้เด็กจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่จะมาเรียนต่ออนุบาล 3 ที่โรงเรียนบ้านหนองบ้วย ทำให้เด็กได้รับการพัฒนา...

นายทวิต ราษี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูล จ.สุโขทัย

ผอ.ทวิต ราษี มีประสบการณ์บริหารโรงเรียนขนาดเล็กที่มีระดับชั้นปฐมวัยมานานโดยมีความตั้งใจในการพัฒนาอนุบาลให้มีคุณภาพเพราะเป็นการสร้างรากฐานให้เด็กไปจนโต และมีความสนใจในเรื่องพัฒนาการเด็ก เมื่อเข้าร่วมอบรมเรื่อง EF จากสถาบัน RLG ก็ได้เข้าใจว่าพัฒนาการของเด็กนั้นเกิดจากการทำงานของสมอง และยังเห็นว่าเรื่อง EF มีความสอดคล้องกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยที่โรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูลดำเนินการอยู่ จึงสนใจที่จะขับเคลื่อนความรู้ EF ในโรงเรียน(ที่เพิ่งเข้ามาบริหาร) ผอ.ทวิตนำความรู้ EF มาถ่ายทอดแก่ครู ให้ครูนำความรู้ EF บูรณาการกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยซึ่งเป็นการเรียนรู้แบบโครงงาน เพียงครูเปลี่ยนวิธีการ ไม่ใช่ครูสั่งให้เด็กทำ แต่ให้เด็กได้คิดได้ทำด้วยตัวเอง...

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here

Stay Connected

74,430แฟนคลับชอบ
- โครงการ “สื่อเพื่อฟื้นฟูการพัฒนาเด็กปฐมวัย ในวิถีชีวิตใหม่” -
- EF Development Tools -

Latest Articles

นางกษมน มังคละคีรี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อ จ.สกลนคร

โรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อเป็นโรงเรียนในโครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQP) ผอ.กษมน ได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่องEF จากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา แล้วศึกษาเพิ่มเติมทางอินเทอร์เน็ตและเข้าอบรมกับสถาบันRLG เมื่อเดือนเมษายน 2564 โดยให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนเข้ารับการอบรมด้วย ซึ่งเป็นครูที่จบเอกปฐมวัยมาโดยตรง และมีความมุ่งมั่นที่จะนำความรู้สู่การปฏิบัติในชั้นเรียน เมื่อตระหนักถึงความสำคัญของ EF ตรงกัน ผอ.กษมนจึงให้ความสนับสนุนอย่างเต็มที่ ให้ครูปฐมวัยได้จัดการเรียนการสอนส่งเสริม EF โดยไม่ได้รอความเห็นชอบจากศน.เขตพื้นที่ฯ เพราะเห็นว่า EF เป็นความรู้ที่สอดคล้องกับหลักการศึกษาปฐมวัยอยู่แล้ว สามารถบูรณาการไปกับการส่งเสริมพัฒนาการ...

นางเปรมศิริ เนื้อเย็น ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบ้วย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย  จ.เพชรบุรี

ผอ.เปรมศิริได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่อง EFจากศึกษานิเทศน์เขตพื้นที่การศึกษาเพชรบุรีเขต 2 และ ศน.เชิญชวนให้เข้ารับการอบรมความรู้ EF กับสถาบัน RLG แล้วนำความรู้ EF มาขยายสู่ครูปฐมวัยในโรงเรียนให้ครูได้ส่งเสริมEF เด็กผ่านโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เนื่องจากมีความสอดคล้องกัน โดยบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยส่งเสริมให้เด็กได้คิดวิเคราะห์ เรียนรู้จากการลงมือทำ นอกจากนั้นยังวางแผนจะเชื่อมโยงความรู้ EF ไปสู่ครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย เพื่อเป็นการปูพื้นฐาน EF ให้เด็กจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่จะมาเรียนต่ออนุบาล 3 ที่โรงเรียนบ้านหนองบ้วย ทำให้เด็กได้รับการพัฒนา...

นายทวิต ราษี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูล จ.สุโขทัย

ผอ.ทวิต ราษี มีประสบการณ์บริหารโรงเรียนขนาดเล็กที่มีระดับชั้นปฐมวัยมานานโดยมีความตั้งใจในการพัฒนาอนุบาลให้มีคุณภาพเพราะเป็นการสร้างรากฐานให้เด็กไปจนโต และมีความสนใจในเรื่องพัฒนาการเด็ก เมื่อเข้าร่วมอบรมเรื่อง EF จากสถาบัน RLG ก็ได้เข้าใจว่าพัฒนาการของเด็กนั้นเกิดจากการทำงานของสมอง และยังเห็นว่าเรื่อง EF มีความสอดคล้องกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยที่โรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูลดำเนินการอยู่ จึงสนใจที่จะขับเคลื่อนความรู้ EF ในโรงเรียน(ที่เพิ่งเข้ามาบริหาร) ผอ.ทวิตนำความรู้ EF มาถ่ายทอดแก่ครู ให้ครูนำความรู้ EF บูรณาการกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยซึ่งเป็นการเรียนรู้แบบโครงงาน เพียงครูเปลี่ยนวิธีการ ไม่ใช่ครูสั่งให้เด็กทำ แต่ให้เด็กได้คิดได้ทำด้วยตัวเอง...

นายสวัสดิ์ เมฆสุนทร  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองโพธิ์ จ.นครราชสีมา 

ผอ.สวัสดิ์ได้รับการแนะนำจากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา ให้รู้จัก EF รวมทั้งได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง EF ในการประชุมเครือข่ายโรงเรียนพัฒนาตนเอง(TSQP)อยู่เสมอ และเข้ารับการอบรมกับสถาบัน RLG เพิ่มเติม  แล้วเห็นว่า EF เป็นความรู้พื้นฐานหรือความรู้ปฐมบทที่พ่อแม่ผู้ปกครองไม่ว่าสถานะใดควรต้องรู้ ไม่ใช่เฉพาะผู้ปกครองชนชั้นกลางขึ้นไปที่มีความรู้ หรือเป็นความรู้ในหมู่ครูอาจารย์หรือแพทย์เท่านั้น  ครอบครัวที่ด้อยโอกาสก็ควรต้องรู้ สรุปคือสังคมไทยควรต้องเรียนรู้เรื่อง EF เพื่อให้เด็กได้มีโอกาสพัฒนาอย่างเท่าเทียมกันจึงสนับสนุนให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนได้รับการอบรม EF จากสถาบัน RLG และดำเนินการปรับสนามเด็กเล่นเพื่อให้เด็กได้เล่นอิสระอย่างปลอดภัยและมีความสุข...

นายจรูญ น้อยสำราญ  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบอน จ.ตราด

โรงเรียนบ้านหนองบอนเป็นโรงเรียนหนึ่งในเครือข่ายโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQD) กสศ.ซึ่งทำให้ผอ.จรูญได้เริ่มรู้จัก EF แล้วทำให้อยากรู้ว่า EF คืออะไร เมื่อพบว่าสถาบัน RLG มีการอบรมเรื่องนี้จึงสมัครเข้ารับอบรมพร้อมครูอนุบาล 2 คน  แล้วได้เห็นว่า EF เป็นคำตอบเรื่องการพัฒนาเด็กให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ และการพัฒนาเด็กให้เต็มศักยภาพ จึงนำความรู้ EF มาถ่ายทอดให้ครูในโรงเรียน โดยใช้สื่อจากสถาบันRLG ให้ครูเรียนรู้ และมอบหมายให้รองผอ.ติดตามการดำเนินการขับเคลื่อนความรู้ EF สู่การปฏิบัติในชั้นเรียนอนุบาล...