สอบถามการใช้งานระบบ?

(02)913 - 7555 กด 4104

ฝ่ายบริการสมาชิกเว็บไซต์

หน้าแรก แท็ก Inhibit

Tag: Inhibit

วิธีสำรวจว่าเด็กยับยั้งชั่งใจได้ดีแค่ไหน

คำว่ายับยั้งชั่งใจ (Inhibitory Control) คือ การควบคุมความสนใจ อารมณ์ และพฤติกรรมให้ไปสู่เป้าหมายที่ต้องการ คำว่ายับยั้งชั่งใจ (Inhibitory Control) หรือการควบคุมความสนใจ อารมณ์ และพฤติกรรมให้ไปสู่เป้าหมายที่ต้องการ ที่จริงแล้วมีความหมายกว้างมาก ไม่ได้หมายถึงเพียงการยับยั้งชั่งใจต่อความอยาก ความต้องการเท่านั้น คุณครูอาจจะสังเกตทักษะความสามารถในการยับยั้งชั่งใจของเด็กในชั้นเรียนได้ดีขึ้น เมื่อเข้าใจขอบเขตของความสามารถนี้ทั้งหมด ซึ่งได้แก่ ใจจดจ่อ ไม่วอกแวก เช่น เด็กตั้งใจทำงานที่ได้รับมอบหมาย ไม่ทำไปเล่นไป มุ่งมั่นไม่ยอมแพ้ง่าย แม้จะล้มเหลว ทำไม่ได้ผล...

พ่อแม่และคุณครูคือ “นั่งร้าน” ของเด็ก

ในการพัฒนาเด็ก พ่อแม่และคุณครูจะต้องเป็น "นั่งร้าน" ที่ดีให้เด็ก โดยสร้างกิจวัตรประจำวัน เป็นแบบอย่างพฤติกรรมทางสังคม สร้างสภาพแวดล้อมที่สนับสนุนอย่างต่อเนื่อง บนความสัมพันธ์ที่ไว้วางใจกัน ในการพัฒนาเด็ก สภาพแวดล้อมของเด็กเปรียบเสมือน“นั่งร้าน”ที่จะทำให้อาคารก่อร่างสร้างตัว พ่อแม่ก็คือสิ่งแวดล้อมที่สำคัญของลูก พ่อแม่จะต้องเป็น "นั่งร้าน" ที่ดีให้ก่อน โดย สร้างกิจวัตรประจำวันให้ลูก เป็นแบบอย่างพฤติกรรมทางสังคม สร้างสภาพแวดล้อมที่สนับสนุนอย่างต่อเนื่อง บนความสัมพันธ์ที่ไว้วางใจกัน ครูในศูนย์เด็กเล็กหรือโรงเรียนอนุบาลที่ดูแลเด็กวัย 3-6 ปีก็เปรียบ”นั่งร้าน”ที่มีความสำคัญอย่างมากเป็นผู้ที่จะต้องฝึกฝนคุณลักษณะความสามารถ EF ทั้ง 9 ด้าน ในชีวิตประจำวันของเด็กและในหลักสูตรการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย โดย สร้างกิจวัตรในชีวิตประจำวันที่โรงเรียน ให้รู้จักรอคอย เข้าคิว ให้รู้จักควบคุมอารมณ์ตนเองและแสดงออกอย่างเหมาะสม ฝึกเข้าใจความรู้สึกของตนเอง...

เด็กจะเป็นอย่างไรถ้าขาดทักษะ EF

เด็กที่ขาดทักษะ EF มักมีปัญหาพฤติกรรมและขาดทักษะในการบริหารจัดการชีวิต นักจิตวิทยาพัฒนาการ Prof.Dr.Philip David Zelazo ชี้ไว้ว่า “เด็กที่ขาดทักษะ EF มักมีปัญหาพฤติกรรมด้วย เช่น แม้ว่าเด็กจะมีจุดมุ่งหมาย แต่ถ้าไม่สามารถวางแผน ไม่สามารถควบคุมพฤติกรรม ไม่สามารถประเมินตัวเองได้ก็อาจจะนำไปสู่การกระทำที่ไม่เหมาะสมได้ และไม่รู้ว่าจะจัดการกับผลที่ตามมาอย่างไร” จากคำอธิบายนี้ ทำให้เรามองเห็นว่า ในการทำให้จุดมุ่งหมายใดๆ สำเร็จได้นั้น ใช่ว่าเพียงมีเป้าหมายตั้งไว้แล้ว ทุกอย่างก็จะเดินหน้าไปได้เอง เพราะในการบวนการทำให้เสร็จบรรลุตามเป้าหมายนั้นต้องใช้ทักษะความสามารถอีกหลายอย่าง เช่น ต้องวางแผนว่า...

EF พัฒนาคุณลักษณะเด็กไทยในศตวรรษที่ 21

การพัฒนา Executive Functions (EF) จะทำให้คนเราเกิดทักษะความสามารถของสมองในการบริหารจัดการชีวิต ซึ่งจะสอดคล้องกับคุณลักษณะพึงประสงค์ของเด็กไทยในศตวรรษที่ 21 สถาบัน RLG ได้จัดการความรู้และเสนอ "คุณลักษณะพึงประสงค์ของเด็กไทยในศตวรรษที่ 21" เมื่อปี พ.ศ. 2553 ว่าได้แก่ Self-Realization = รู้จักตนเองรู้จุดแข็งจุดอ่อน รู้จักอารมณ์ตนเองและสาเหตุของการเกิด อารมณ์นั้นๆ รู้ศักยภาพของตนเอง รู้วิธีจัดการตนเอง Humanity = เห็นคุณค่าในความเป็นมนุษย์ เคารพเพื่อนมนุษย์ เอาใจเขามาใส่ใจเรา Social...

เด็กอย่างนี้มิใช่หรือ ที่พ่อแม่ ครู และสังคมต้องการ?

การที่เด็กได้รับโอกาสพัฒนา EF นอกจากจะเป็นประโยชน์ต่อตัวเด็กเองแล้ว สังคมยังได้รับประโยชน์ด้วย เพราะจะเป็นการสร้างบุคคลที่มีคุณภาพ มีพฤติกรรมเชิงบวกและเลือกตัดสินใจในทางที่สร้างสรรค์ต่อตัวเอง ครอบครัว และส่วนรวม คงต้องกล่าวว่า ทักษะความสามารถ EF ที่แข็งแกร่งมีความสำคัญสำหรับการเติบโตของเด็กยิ่งกว่าการเรียนรู้เรื่องตัวเลขหรือการอ่านเขียน การที่เด็กได้รับโอกาสพัฒนา EF นอกจากจะเป็นประโยชน์ต่อตัวเด็กเองแล้ว สังคมยังได้รับประโยชน์ด้วย เพราะจะเป็นการสร้างบุคคลที่มีคุณภาพ มีพฤติกรรมเชิงบวกและเลือกตัดสินใจในทางที่สร้างสรรค์ต่อตัวเอง ครอบครัว และส่วนรวม หากเด็กได้รับการสร้างเสริมทักษะ EF เขาจะ... มีความจำดี มีสมาธิจดจ่อสามารถทำงานต่อเนื่องจนเสร็จ รู้จักการวิเคราะห์ มีการวางแผนงานอย่างเป็นระบบ ลงมือทำงานได้ และจัดการกับกระบวนการทำงาน...

สร้างภูมิคุ้มกันให้เด็กห่างไกลสิ่งเสพติด

สมองส่วนหน้า (Prefrontal Cortex) ทำหน้าที่ยับยั้งการเข้าหายาเสพติดโดยควบคุมความคิดและการกระทำ (Cognitive Control) ยับยั้งไม่ให้ตอบสนองออกไปตามความต้องการ รู้จักคิดว่าสิ่งไหนไม่ดี ยับยั้งไม่ทำในสิ่งที่ไม่ดี การที่คนเราจะติดสิ่งเสพติดต่างๆ ไม่ว่า เหล้า บุหรี่ ยาเสพติด ติดเกม ฯลฯ เป็นเพราะไม่สามารถต้านทานสิ่งเร้านั้นๆ ไม่สามารถยับยั้งความอยาก ความต้องการที่จะทำสิ่งนั้นซ้ำๆ ได้ ทั้งๆ ที่ทุกคนรู้ว่ามันเป็นสิ่งไม่ดี ทำไมบางคนถึงห้ามใจไม่ลองไม่แตะได้ และทำไมบางคนถึงหักห้ามใจไม่ได้ รศ.ดร.นวลจันทร์ จุฑาภักดีกุล...

กฎ กติกา มารยาทสังคม ช่วยให้เด็กมีความยับยั้งชั่งใจมากขึ้น

วิธีการใช้กฎ กติกา มารยาทสังคม ช่วยปลูกฝังความสามารถในการยับยั้งชั่งใจ การรู้จักอดทนอดกลั้น รอคอยเพื่อทำสิ่งที่เหมาะสมให้เด็กเล็กที่ยังไม่เข้าใจเรื่องเหตุผล การฝึกเด็กเล็กให้รู้จักยับยั้งชั่งใจเป็นเรื่องยากทีเดียว เพราะสมองของเด็กยังพัฒนาไม่เต็มที่ ยังไม่เข้าใจเรื่องเหตุผล คงต้องมองหาวิธีการอื่นๆ ที่ช่วยปลูกฝังความสามารถในการยับยั้งชั่งใจ การรู้จักอดทนอดกลั้น รอคอยเพื่อทำสิ่งที่เหมาะสม ลองดูวิธีฝึกเด็กเล็กๆ วัยอนุบาลให้มีความยับยั้งชั่งใจของคุณครูโรงเรียนเพลินพัฒนากันค่ะ ในช่วงเวลาอาหารกลางวัน คุณครูนำเด็กๆ อนุบาลไปที่ห้องอาหาร โดยที่โต๊ะรับประทานอาหารคุณครูจะจัดถาดอาหาร วางช้อนไว้ให้ คุณครูจัดให้เด็กนั่งประจำที่โต๊ะ ก็จะมีเด็กบางคนที่ยั้งใจไม่อยู่ ตักขนมกินก่อน คุณครูจึงคิดแก้ปัญหาด้วยการไม่วางช้อนไว้ให้ แต่จะเรียกเด็กทีละโต๊ะมาหยิบช้อนไป โดยตั้งกฎว่าคนที่ได้ช้อนแล้วอย่าเพิ่งลงมือรับประทาน ต้องรอให้เพื่อนได้ช้อนครบทุกคนก่อน ยิ่งกว่านั้นก่อนจะลงมือรับประทาน...

ใครคือคนที่จะประสบความสำเร็จในชีวิต

คุณลักษณะรวมๆ ในการบริหารจัดการชีวิตและการงานที่จะนำพาคนเราไปพบความสำเร็จในชีวิต เป็นทักษะในกระบวนการคิดขั้นสูง = High-Level Cognitive Functions หรือเรียกเป็นศัพท์เฉพาะว่า Executive Functions (EF) คนที่จะประสบความสำเร็จในชีวิตมักจะเป็นคนที่.... ... คิดเป็นเหตุเป็นผล เป็นระบบ คิดวิเคราะห์เรื่องราวต่างๆได้ดี เมื่อมีเรื่องต้องตัดสินใจก็มีหลักคิด มีการพินิจพิจารณาไตร่ตรองดี สามารถตัดสินใจได้เหมาะสม ... รู้จักวางแผนก่อนลงมือทำ ครั้นเมื่อลงมือ ก็สามารถทำได้เป็นขั้นเป็นตอน หากทำไปแล้วเกิดอุปสรรค ก็รู้จักแก้ไข หรือคิดค้นหาทางออกใหม่ๆ ไม่ติดตันตายตัวอยู่กับความคิดเดิมๆ...

Stay Connected

22,878แฟนคลับชอบ
2,506ผู้ติดตามติดตาม
- Advertisement -

Latest Articles

นางกษมน มังคละคีรี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อ จ.สกลนคร

โรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อเป็นโรงเรียนในโครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQP) ผอ.กษมน ได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่องEF จากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา แล้วศึกษาเพิ่มเติมทางอินเทอร์เน็ตและเข้าอบรมกับสถาบันRLG เมื่อเดือนเมษายน 2564 โดยให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนเข้ารับการอบรมด้วย ซึ่งเป็นครูที่จบเอกปฐมวัยมาโดยตรง และมีความมุ่งมั่นที่จะนำความรู้สู่การปฏิบัติในชั้นเรียน เมื่อตระหนักถึงความสำคัญของ EF ตรงกัน ผอ.กษมนจึงให้ความสนับสนุนอย่างเต็มที่ ให้ครูปฐมวัยได้จัดการเรียนการสอนส่งเสริม EF โดยไม่ได้รอความเห็นชอบจากศน.เขตพื้นที่ฯ เพราะเห็นว่า EF เป็นความรู้ที่สอดคล้องกับหลักการศึกษาปฐมวัยอยู่แล้ว สามารถบูรณาการไปกับการส่งเสริมพัฒนาการ...

นางเปรมศิริ เนื้อเย็น ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบ้วย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย  จ.เพชรบุรี

ผอ.เปรมศิริได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่อง EFจากศึกษานิเทศน์เขตพื้นที่การศึกษาเพชรบุรีเขต 2 และ ศน.เชิญชวนให้เข้ารับการอบรมความรู้ EF กับสถาบัน RLG แล้วนำความรู้ EF มาขยายสู่ครูปฐมวัยในโรงเรียนให้ครูได้ส่งเสริมEF เด็กผ่านโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เนื่องจากมีความสอดคล้องกัน โดยบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยส่งเสริมให้เด็กได้คิดวิเคราะห์ เรียนรู้จากการลงมือทำ นอกจากนั้นยังวางแผนจะเชื่อมโยงความรู้ EF ไปสู่ครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย เพื่อเป็นการปูพื้นฐาน EF ให้เด็กจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่จะมาเรียนต่ออนุบาล 3 ที่โรงเรียนบ้านหนองบ้วย ทำให้เด็กได้รับการพัฒนา...

นายทวิต ราษี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูล จ.สุโขทัย

ผอ.ทวิต ราษี มีประสบการณ์บริหารโรงเรียนขนาดเล็กที่มีระดับชั้นปฐมวัยมานานโดยมีความตั้งใจในการพัฒนาอนุบาลให้มีคุณภาพเพราะเป็นการสร้างรากฐานให้เด็กไปจนโต และมีความสนใจในเรื่องพัฒนาการเด็ก เมื่อเข้าร่วมอบรมเรื่อง EF จากสถาบัน RLG ก็ได้เข้าใจว่าพัฒนาการของเด็กนั้นเกิดจากการทำงานของสมอง และยังเห็นว่าเรื่อง EF มีความสอดคล้องกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยที่โรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูลดำเนินการอยู่ จึงสนใจที่จะขับเคลื่อนความรู้ EF ในโรงเรียน(ที่เพิ่งเข้ามาบริหาร) ผอ.ทวิตนำความรู้ EF มาถ่ายทอดแก่ครู ให้ครูนำความรู้ EF บูรณาการกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยซึ่งเป็นการเรียนรู้แบบโครงงาน เพียงครูเปลี่ยนวิธีการ ไม่ใช่ครูสั่งให้เด็กทำ แต่ให้เด็กได้คิดได้ทำด้วยตัวเอง...

นายสวัสดิ์ เมฆสุนทร  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองโพธิ์ จ.นครราชสีมา 

ผอ.สวัสดิ์ได้รับการแนะนำจากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา ให้รู้จัก EF รวมทั้งได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง EF ในการประชุมเครือข่ายโรงเรียนพัฒนาตนเอง(TSQP)อยู่เสมอ และเข้ารับการอบรมกับสถาบัน RLG เพิ่มเติม  แล้วเห็นว่า EF เป็นความรู้พื้นฐานหรือความรู้ปฐมบทที่พ่อแม่ผู้ปกครองไม่ว่าสถานะใดควรต้องรู้ ไม่ใช่เฉพาะผู้ปกครองชนชั้นกลางขึ้นไปที่มีความรู้ หรือเป็นความรู้ในหมู่ครูอาจารย์หรือแพทย์เท่านั้น  ครอบครัวที่ด้อยโอกาสก็ควรต้องรู้ สรุปคือสังคมไทยควรต้องเรียนรู้เรื่อง EF เพื่อให้เด็กได้มีโอกาสพัฒนาอย่างเท่าเทียมกันจึงสนับสนุนให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนได้รับการอบรม EF จากสถาบัน RLG และดำเนินการปรับสนามเด็กเล่นเพื่อให้เด็กได้เล่นอิสระอย่างปลอดภัยและมีความสุข...

นายจรูญ น้อยสำราญ  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบอน จ.ตราด

โรงเรียนบ้านหนองบอนเป็นโรงเรียนหนึ่งในเครือข่ายโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQD) กสศ.ซึ่งทำให้ผอ.จรูญได้เริ่มรู้จัก EF แล้วทำให้อยากรู้ว่า EF คืออะไร เมื่อพบว่าสถาบัน RLG มีการอบรมเรื่องนี้จึงสมัครเข้ารับอบรมพร้อมครูอนุบาล 2 คน  แล้วได้เห็นว่า EF เป็นคำตอบเรื่องการพัฒนาเด็กให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ และการพัฒนาเด็กให้เต็มศักยภาพ จึงนำความรู้ EF มาถ่ายทอดให้ครูในโรงเรียน โดยใช้สื่อจากสถาบันRLG ให้ครูเรียนรู้ และมอบหมายให้รองผอ.ติดตามการดำเนินการขับเคลื่อนความรู้ EF สู่การปฏิบัติในชั้นเรียนอนุบาล...