สอบถามการใช้งานระบบ?

(02)913 - 7555 กด 4104

ฝ่ายบริการสมาชิกเว็บไซต์

หน้าแรก แท็ก Working Memory

Tag: Working Memory

Working Memory จะงอกงามหากได้รับปัจจัยเสริม

ความสามารถด้านความจำขณะใช้งาน หรือ Working Memory ของเด็กจะงอกงามดี หากมีปัจจัยที่เหมาะสม ซึ่งคุณครูสามารถจัดสรรให้เด็กได้ คุณครูสามารถส่งเสริมความสามารถด้านความจำขณะใช้งาน หรือ Working Memory ของเด็กได้โดยอาศัยปัจจัยต่างๆ เหล่านี้1. จัดกิจกรรมที่ทำให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสทั้งหก เช่น เล่นกระบะทราย เล่นในสนามเด็กเล่นตามธรรมชาติ (Free Play)2. กิจกรรมต่างๆ ที่จัดให้เด็ก จะต้องมีความหมายกับตัวเด็ก จึงจะเข้าไปฝังใน memory จนเป็นตัวตนของเด็กซึ่งเขาจะเอาออกมาใช้ตอนไหนก็ได้3....

ความจำที่ทำให้เป็นคนเก่ง

เด็กจะมีความจำที่มีความหมาย เอาไปใช้กับชีวิตได้ คุณครูก็จำเป็นจะต้องสร้างโอกาสให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสทุกด้าน การจับเด็กไปนั่งเรียน สั่งให้จำให้เขียนในสิ่งที่ครูปรารถนาดีอยากให้จำ เด็กไม่ได้ใช้ระบบสัมผัสรับรู้ทุกด้าน เมื่อไม่ได้ใช้เส้นใยสมองก็จะไม่พัฒนางอกงามและเสื่อมไป เพราะฉะนั้นถ้าคุณครูอยากให้ลูกศิษย์ มีความจำที่มีความหมายเอาไปใช้กับชีวิตได้ ก็จำเป็นจะต้องสร้างโอกาสให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสทุกด้าน ซึ่งเป็นประตูสู่ความจำ หลายๆ โรงเรียนใช้กิจกรรมที่เรียกว่า SI หรือ Sensory Integration เป็นการกระตุ้นประสาทสัมผัสรับรู้ของเด็กทุกด้าน เมื่อรับรู้แล้วส่งต่อข้อมูลไปที่สมอง สมองเก็บไว้เป็นความจำ ความรู้ ขณะเดียวสมองสั่งให้ร่างกายตอบสนองต่อสิ่งที่มากระทบ นี่คือวงจรของการเรียนรู้ผ่านประสาทสัมผัส ถ้าเป็นเด็กบ้านนอกที่อยู่กับธรรมชาติ ครูไม่จำเป็นต้องจัดกิจกรรมฝึกเรื่องนี้ เพราะเด็กได้เล่นกับดินกับทราย...

เคล็ดลับพัฒนาทักษะลูกให้จำเก่ง จำแม่น

เคล็ดลับของการพัฒนาเด็กให้มีความสามารถในการจำมีหลักอยู่ว่า จะจำได้ดี ต้องมีประตูรับรู้ที่ดีก่อน คือ มีประสาทสัมผัสที่ดี เพราะฉะนั้นการพัฒนาความจำจึงเริ่มด้วยการพัฒนาประสาทสัมผัสของเด็กในทุกๆ ด้าน คุณพ่อคุณแม่สามารถช่วยลูกพัฒนาสมองให้มีความจำเป็นเลิศ หรือ Working Memory ได้โดยใช้หลักที่ว่า จะจำได้ดีต้องมีประตูรับรู้ที่ดีก่อน คือ มีประสาทสัมผัสที่ดี เพราะสมองจะต้องรับรู้ข้อมูลที่เข้ามาแล้วเกิดการเรียนรู้ เกิดการจำเพื่อนำไปใช้งานและเอาไว้เชื่อมโยงสิ่งใหม่ๆที่จะได้เรียนรู้ ดังนั้นการพัฒนาความจำจึงเริ่มจากการพัฒนาประสาทสัมผัสในทุกๆ ด้าน ได้แก่ การได้ยิน การมองเห็น การลิ้มรส การได้กลิ่น และการสัมผัสเคลื่อนไหว กิจกรรมที่พัฒนาประสาทสัมผัสเหล่านี้...

ปัญญาดีเพราะมีความจำเป็นเลิศ

Working Memory หรือความจำขณะทำงานเป็นพื้นฐานของความสามารถหลายๆ อย่างที่จะตามมา ได้แก่ การเขียน การอ่าน การคิดเชื่อมโยง การคิดวางแผน จัดลำดับความสำคัญ การตัดสินใจ คิดแก้ปัญหา คิดสร้างสรรค์ ความคิดรวบยอด ความจำดีตั้งแต่วัยเด็กจะเป็นพื้นฐานให้เรียนรู้ได้ดี มีทักษะความสามารถด้านอื่นๆ ตามมา ความจำที่เรียกว่า working memory หรือความจำขณะทำงานมีความเกี่ยวข้องกับเด็กที่มีความจำดีอย่างไร รศ.ดร. นวลจันทร์ จุฑาภักดีกุล ศูนย์วิจัยประสาทวิทยาศาสตร์ สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล...

Working Memory จะงอกงามหากได้รับปัจจัยเสริม

ความสามารถด้านความจำขณะใช้งาน หรือ Working Memory ของลูกจะงอกงามดี หากมีปัจจัยที่เหมาะสม ซึ่งคุณพ่อคุณแม่สามารถจัดสรรให้ลูกได้  คุณพ่อคุณแม่สามารถส่งเสริมความสามารถด้านความจำขณะใช้งาน Working Memory ของลูกได้โดย 1. จัดกิจกรรมที่ทำให้ลูกได้ใช้ประสาทสัมผัสทุกด้าน 2. กิจกรรมจะต้องมีความหมายกับตัวลูก คือเขาชอบ สนใจ จึงจะเข้าไปฝังใน memory จนเป็นตัวตนของลูก 3. กิจกรรมจะต้องสอดคล้องกับช่วงวัยและลักษณะเฉพาะในการเรียนรู้ของลูก 4. ลูกอยู่ในสภาพแวดล้อมที่อบอุ่น มีความสุข มีความผูกพันใกล้ชิดกับพ่อแม่ 5. ลูกได้รับประสบการณ์จากกิจกรรมที่หลากหลายสม่ำเสมอ เซลล์สมองจะได้รับการพัฒนา...

ความจำที่ทำให้เป็นคนเก่ง

หากอยากให้ลูกมีความจำที่มีความหมาย เอาไปใช้กับชีวิตได้ ก็จำเป็นจะต้องสร้างโอกาสให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสทุกด้าน โรงเรียนที่เน้นให้เด็กอ่านออกเขียนได้ เด็กจะขาดโอกาสในการพัฒนาความจำขณะใช้งาน (Working Memory) เพราะไม่ได้ใช้ประสาทสัมผัสรับรู้ทุกด้านซึ่งเป็นประตู่สู่ความจำ ขาดประสบการณ์ที่หลากหลายเส้นใยสมองก็จะไม่พัฒนางอกงามหากคุณพ่อคุณแม่อยากให้ลูกมีความจำที่มีความหมายเอาไปใช้กับชีวิตต่อไปภายหน้าได้ ต้องสร้างโอกาสให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสทุกด้าน ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ความเลือกโรงเรียนที่ใช้กิจกรรมที่เรียกว่า SI หรือ Sensory Integration ซึ่งเป็นกิจกรรมกระตุ้นประสาทสัมผัสรับรู้ของเด็กทุกด้าน เมื่อรับรู้แล้วส่งต่อข้อมูลไปที่สมอง สมองเก็บไว้เป็นความจำความรู้ เมื่อใดที่ต้องการใช้งาน สมองก็จะดึงข้อมูลเหล่านั้นออกมา เด็กบ้านนอกอยู่กับธรรมชาติเรียนรู้สิ่งรอบตัว ได้ใช้ประสาทสัมผัสทุกด้านซึ่งเป็นจุดตั้งต้นให้เกิดความจำที่มีความหมายต่อตัวเด็ก สร้างความจำที่พาไปสู่ความเชี่ยวชาญ ในขณะที่เด็กในเมืองไม่มีประสบการณ์แบบนั้น โรงเรียนจึงต้องพยายามสร้างกิจกรรมให้เด็กได้ใช้ระบบสัมผัสทุกด้านไม่ใช่ให้เด็กเอาแต่นั่งท่องนั่งคัดอยู่แค่นั้น คุณพ่อคุณแม่ควรจัดให้ลูกได้เล่นอย่างอิสระ...

เด็กอย่างนี้มิใช่หรือ ที่พ่อแม่ ครู และสังคมต้องการ?

การที่เด็กได้รับโอกาสพัฒนา EF นอกจากจะเป็นประโยชน์ต่อตัวเด็กเองแล้ว สังคมยังได้รับประโยชน์ด้วย เพราะจะเป็นการสร้างบุคคลที่มีคุณภาพ มีพฤติกรรมเชิงบวกและเลือกตัดสินใจในทางที่สร้างสรรค์ต่อตัวเอง ครอบครัว และส่วนรวมทักษะความสามารถ EF มีความสำคัญต่อการเติบโตของลูกอย่างยิ่ง หากเด็กได้รับโอกาสพัฒนา EF นอกจากจะเป็นประโยชน์ต่อตัวเด็กเองแล้ว สังคมยังได้รับประโยชน์ด้วย เพราะจะเป็นการสร้างบุคคลที่มีคุณภาพ มีพฤติกรรมเชิงบวกและเลือกตัดสินใจในทางที่สร้างสรรค์ต่อตัวเอง ครอบครัว และส่วนรวม หากเด็กได้รับการสร้างเสริมทักษะ EF เขาจะ.. มีความจำดี มีสมาธิจดจ่อสามารถทำงานต่อเนื่องจนเสร็จรู้จักการวิเคราะห์ มีการวางแผนงานอย่างเป็นระบบ...

พ่อแม่และคุณครูคือ “นั่งร้าน” ของเด็ก

ในการพัฒนาเด็ก พ่อแม่และคุณครูจะต้องเป็น "นั่งร้าน" ที่ดีให้เด็ก โดยสร้างกิจวัตรประจำวัน เป็นแบบอย่างพฤติกรรมทางสังคม สร้างสภาพแวดล้อมที่สนับสนุนอย่างต่อเนื่อง บนความสัมพันธ์ที่ไว้วางใจกันในการพัฒนาเด็ก สภาพแวดล้อมของเด็กเปรียบเสมือน“นั่งร้าน”ที่จะทำให้อาคารก่อร่างสร้างตัว พ่อแม่ก็คือสิ่งแวดล้อมที่สำคัญของลูก พ่อแม่จะต้องเป็น "นั่งร้าน" ที่ดีให้ก่อน โดยสร้างกิจวัตรประจำวันให้ลูก เป็นแบบอย่างพฤติกรรมทางสังคมสร้างสภาพแวดล้อมที่สนับสนุนอย่างต่อเนื่อง บนความสัมพันธ์ที่ไว้วางใจกันครูในศูนย์เด็กเล็กหรือโรงเรียนอนุบาลที่ดูแลเด็กวัย 3-6 ปีก็เปรียบ "นั่งร้าน" ที่มีความสำคัญอย่างมากเป็นผู้ทีจะต้องฝึกฝนคุณลักษณะความสามารถ EF ทั้ง 9 ด้านในชีวิตประจำวันของเด็กและในหลักสูตรการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย...

Stay Connected

22,878แฟนคลับชอบ
2,506ผู้ติดตามติดตาม
- Advertisement -

Latest Articles

นางกษมน มังคละคีรี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อ จ.สกลนคร

โรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อเป็นโรงเรียนในโครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQP) ผอ.กษมน ได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่องEF จากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา แล้วศึกษาเพิ่มเติมทางอินเทอร์เน็ตและเข้าอบรมกับสถาบันRLG เมื่อเดือนเมษายน 2564 โดยให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนเข้ารับการอบรมด้วย ซึ่งเป็นครูที่จบเอกปฐมวัยมาโดยตรง และมีความมุ่งมั่นที่จะนำความรู้สู่การปฏิบัติในชั้นเรียน เมื่อตระหนักถึงความสำคัญของ EF ตรงกัน ผอ.กษมนจึงให้ความสนับสนุนอย่างเต็มที่ ให้ครูปฐมวัยได้จัดการเรียนการสอนส่งเสริม EF โดยไม่ได้รอความเห็นชอบจากศน.เขตพื้นที่ฯ เพราะเห็นว่า EF เป็นความรู้ที่สอดคล้องกับหลักการศึกษาปฐมวัยอยู่แล้ว สามารถบูรณาการไปกับการส่งเสริมพัฒนาการ...

นางเปรมศิริ เนื้อเย็น ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบ้วย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย  จ.เพชรบุรี

ผอ.เปรมศิริได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่อง EFจากศึกษานิเทศน์เขตพื้นที่การศึกษาเพชรบุรีเขต 2 และ ศน.เชิญชวนให้เข้ารับการอบรมความรู้ EF กับสถาบัน RLG แล้วนำความรู้ EF มาขยายสู่ครูปฐมวัยในโรงเรียนให้ครูได้ส่งเสริมEF เด็กผ่านโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เนื่องจากมีความสอดคล้องกัน โดยบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยส่งเสริมให้เด็กได้คิดวิเคราะห์ เรียนรู้จากการลงมือทำ นอกจากนั้นยังวางแผนจะเชื่อมโยงความรู้ EF ไปสู่ครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย เพื่อเป็นการปูพื้นฐาน EF ให้เด็กจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่จะมาเรียนต่ออนุบาล 3 ที่โรงเรียนบ้านหนองบ้วย ทำให้เด็กได้รับการพัฒนา...

นายทวิต ราษี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูล จ.สุโขทัย

ผอ.ทวิต ราษี มีประสบการณ์บริหารโรงเรียนขนาดเล็กที่มีระดับชั้นปฐมวัยมานานโดยมีความตั้งใจในการพัฒนาอนุบาลให้มีคุณภาพเพราะเป็นการสร้างรากฐานให้เด็กไปจนโต และมีความสนใจในเรื่องพัฒนาการเด็ก เมื่อเข้าร่วมอบรมเรื่อง EF จากสถาบัน RLG ก็ได้เข้าใจว่าพัฒนาการของเด็กนั้นเกิดจากการทำงานของสมอง และยังเห็นว่าเรื่อง EF มีความสอดคล้องกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยที่โรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูลดำเนินการอยู่ จึงสนใจที่จะขับเคลื่อนความรู้ EF ในโรงเรียน(ที่เพิ่งเข้ามาบริหาร) ผอ.ทวิตนำความรู้ EF มาถ่ายทอดแก่ครู ให้ครูนำความรู้ EF บูรณาการกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยซึ่งเป็นการเรียนรู้แบบโครงงาน เพียงครูเปลี่ยนวิธีการ ไม่ใช่ครูสั่งให้เด็กทำ แต่ให้เด็กได้คิดได้ทำด้วยตัวเอง...

นายสวัสดิ์ เมฆสุนทร  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองโพธิ์ จ.นครราชสีมา 

ผอ.สวัสดิ์ได้รับการแนะนำจากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา ให้รู้จัก EF รวมทั้งได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง EF ในการประชุมเครือข่ายโรงเรียนพัฒนาตนเอง(TSQP)อยู่เสมอ และเข้ารับการอบรมกับสถาบัน RLG เพิ่มเติม  แล้วเห็นว่า EF เป็นความรู้พื้นฐานหรือความรู้ปฐมบทที่พ่อแม่ผู้ปกครองไม่ว่าสถานะใดควรต้องรู้ ไม่ใช่เฉพาะผู้ปกครองชนชั้นกลางขึ้นไปที่มีความรู้ หรือเป็นความรู้ในหมู่ครูอาจารย์หรือแพทย์เท่านั้น  ครอบครัวที่ด้อยโอกาสก็ควรต้องรู้ สรุปคือสังคมไทยควรต้องเรียนรู้เรื่อง EF เพื่อให้เด็กได้มีโอกาสพัฒนาอย่างเท่าเทียมกันจึงสนับสนุนให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนได้รับการอบรม EF จากสถาบัน RLG และดำเนินการปรับสนามเด็กเล่นเพื่อให้เด็กได้เล่นอิสระอย่างปลอดภัยและมีความสุข...

นายจรูญ น้อยสำราญ  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบอน จ.ตราด

โรงเรียนบ้านหนองบอนเป็นโรงเรียนหนึ่งในเครือข่ายโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQD) กสศ.ซึ่งทำให้ผอ.จรูญได้เริ่มรู้จัก EF แล้วทำให้อยากรู้ว่า EF คืออะไร เมื่อพบว่าสถาบัน RLG มีการอบรมเรื่องนี้จึงสมัครเข้ารับอบรมพร้อมครูอนุบาล 2 คน  แล้วได้เห็นว่า EF เป็นคำตอบเรื่องการพัฒนาเด็กให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ และการพัฒนาเด็กให้เต็มศักยภาพ จึงนำความรู้ EF มาถ่ายทอดให้ครูในโรงเรียน โดยใช้สื่อจากสถาบันRLG ให้ครูเรียนรู้ และมอบหมายให้รองผอ.ติดตามการดำเนินการขับเคลื่อนความรู้ EF สู่การปฏิบัติในชั้นเรียนอนุบาล...